เมืองไทยน่าเที่ยว

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เสาเฉลียง อ.โขงเจียม


สามพันโบก แก่งตะนะ แก่งสะพือ คลิกที่นี่






   อุทยานแห่งชาติผาแต้ม มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียมอำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี  มีจุดเด่นที่สวยงามตามธรรมชาติมากมายเช่นผาชัน  เสาเฉลียง  ในอดีตชาวบ้านท้องถิ่นที่ทำกินในบริเวณใกล้เคียง  น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในบริเวณนี้  เนื่องจากมีความเชื่อว่าผาแต้ม เป็นเขตต้องห้าม ภูผาเหล่านี้มีความศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าเป็นภูผาแห่งความตาย ใครล่วงล้ำเข้าไป มักมีอันเป็นไป อาจเจ็บไข้หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ผาแต้มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว เมื่อเมื่อคณะ อาจารย์และนักศึกษาภาควิชา มนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการค้นพบภาพเขียนสีโบราณ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปี จึงได้เสนอต่อกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ขอให้จัดตั้งป่าภูผาในบริเวณผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้รับการประกาศให้เป็น อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74 ของประเทศไทยและถือได้ว่า เป็นอุทยานแห่งชาติ แห่งแรกในประเทศไทยที่มีแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและ ประเทศลาวเป็นแนวเขต อุทยานแห่งชาติที่ยาวที่สุดทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ ทางฝั่งประเทศลาวได้เป็นอย่างดี






 มีพื้นที่ประมาณ 140 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร ได้ รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2534 สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และเนินเขา มีหน้าผาสูงชันซึ่งเกิดจากการแยกตัวของผิวโลก สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีหินทรายลักษณะแปลกตากระจายอยู่ทั่วบริเวณ 

    การเดินทาง จากอำเภอโขงเจียมใช้ เส้นทาง 2134 ต่อด้วยเส้นทาง 2112 แล้วแยกขวาไปผาแต้ม อีกราว 5 กิโลเมตร รวมระยะทางจาก โขงเจียมประมาณ 18 กิโลเมตร สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่  


  เสาเฉลียง  อยู่ก่อนถึงผาแต้มประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นเสาหินธรรมชาติที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำและลมนับล้านปี มีลักษณะคล้ายดอกเห็ดเรียงรายกันอยู่มากมาย ซึ่งหินดังกล่าวจะปรากฏเห็นซากเปลือกหอย กรวด ทราย อยู่ในเนื้อหิน  ซึ่งนักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อประมาณล้านกว่าปีมาแล้ว บริเวณนี้คงจะเป็นทะเลมาก่อน ชาวบ้านบริเวณนี้เรียกเสาหินที่คล้ายดอกเห็ดนี้ว่า “เสาเฉลียง” ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “สะเลียง” ที่หมายถึง “เสาหิน”  บริเวณนี้ยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวเดินเที่ยวชมแต่ ต้องมีเจ้าหน้าที่นำทาง







ลานหินแตก อยู่ถัดจากเสาเฉลียงขึ้นไปบนเนินเขา

ลานหินแตกเป็น ลักษณะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สืบเนื่องมาจากกระบวนการกัดเซาะและกัดกร่อนด้วยอิทธิพลของน้ำและลม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการสึกกร่อนโดยน้ำหรือธารน้ำไหลกัดเซาะเป็นเวลาชั่วนา ตาปี